จากประสบการณ์การสนับสนุนนักสร้างการเปลี่ยนแปลงในระยะเริ่มต้นของ School of Changemakers พบว่า การตั้งคำถามให้ถูกต้อง เหมือนการกลัดกระดุมเม็ดแรก เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการทำโครงการหรือกิจการเพื่อสังคม
การใช้เวลาตั้งคำถามให้ถูก หาให้เจอว่าปัญหาจริงๆ อยู่ที่ไหน เป็นสิ่งที่ฟังดูธรรมดา แต่กลับทำยากที่สุดในกระบวนการแก้ปัญหา
เพราะคนส่วนมากมักจะมีมุมมองที่รับรู้เกี่ยวกับปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหาในใจมาอยู่แล้ว เมื่อลงมือทำจริงอาจจะเห็นแค่ action(การลงมือทำ) ไม่เห็น impact(ผลกระทบ) และคาดหวังได้แค่ output(ผลผลิต) แต่ไม่ใช่ outcome(ผลลัพธ์)
หากเราศึกษาการสร้างนวัตกรรมจะพบว่าการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน (เช่นปัญหาสังคม หรือปัญหาชีวิตคน) การค้นหาปัญหาที่แท้จริงเป็นกระบวนการที่ใช้เวลากว่า 30% ของเวลาทำงานทั้งหมด
นักสร้างการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่ที่เราทำงานด้วยใช้เวลาในช่วงแรกไปกับ
- การระบุปัญหาให้ชัดเจนและการมองเห็นความเชื่อมโยงระหว่างปัญหากับตัวผู้ทำ หากปัญหาไม่ชัดเจนตอนตั้งต้น จะใช้เวลานานในการทำความเข้าใจปัญหาและมองหาโอกาส และอาจจะล้มเลิกได้ง่ายๆ
- ความท้าทายในกระบวนการให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงลึก ตั้งแต่การกำหนดกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย การสัมภาษณ์ เก็บข้อมูล
- เมื่อได้ข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์(Analyse) และสังเคราห์ (Synthesize) เพื่อให้ได้ความเข้าใจในเชิงลึกที่เป็นโอกาสในการแก้ไขปัญหา
ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ เป็นกระบวนการที่ต้องทำซ้ำ และฝึกฝน Insights Tanks จึงเป็น Platform ที่จะช่วยให้คุณเรียนรู้กระบวนการ เพื่อเป็นจุดตั้งต้นในการทำความเข้าใจปัญหาที่คุณสนใจ เครื่องมือต่างๆ ใน Insight Tanks จึงถูกพัฒนาขึ้นโดยมุ่งหวังให้ผู้ที่อยากเริ่มต้นสร้างการเปลี่ยนแปลงมาเรียนรู้กระบวนการทำความเข้าใจปัญหาและพัฒนาทักษะ เพื่อให้ได้มาซึ่งความเข้าใจในเชิงลึกที่เป็นโอกาสในการแก้ไขปัญหา
หัวข้อการเรียนรู้
สัปดาห์ที่ 1: Scoping problem
ทำความรู้จัก Insight และขั้นตอนการหา พร้อมกับเลือกปัญหาที่สนใจ
- What is insight? : ข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวข้องกับปัญหาคืออะไร
- Finding insight journey: เส้นทางการหา Insight
- Exploring problem: สำรวจแง่มุมต่างๆ ของปัญหาที่สนใจ
- Scoping: เลือกปัญหาที่สนใจ
(2 VDOs , 1 Readings , 2 Worksheets ~ 70 mins)
สัปดาห์ที่ 2: Conducting secondary research
เรียนรู้การหาข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับปัญหาจากแหล่งต่างๆ ระบุผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย(Stakeholders) ที่เกี่ยวข้องกับปัญหา
- How to conduct secondary research: การศึกษาหาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับปัญหา
(1 VDO, 2 Readings , 1 Worksheets ~ 75 mins)
สัปดาห์ที่ 3: Preparing to empathise
ฝึกตั้งประเด็นและเตรียมคำถามสัมภาษณ์
- Why and how to empathise: ทำความเข้าใจความสำคัญของการเข้าอกเข้าใจคน และวิธีการเรียนรู้การตั้งคำถามแบบต่างๆ
- Interview topics & questions: เรียนรู้การตั้งประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่สนใจ และการตั้งคำถามเพื่อสัมภาษณ์
(1 VDOs , 1 Readings , 2 Worksheets ~ 110 mins)
สัปดาห์ที่ 4-5: Empathising stakeholders
เรียนรู้และทำความเข้าใจปัญหาเชิงลึก ผ่านการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย
- How to empathise : การทำความเข้าอกเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย
- Interview activity: กิจกรรมออนไลน์/ออฟไลน์สัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย และเก็บข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์
- Self-Reflection: ทบทวนตัวเองหลังจากสัมภาษณ์
(1 VDO , 1 Readings , 2 Worksheets , 1 Activity ~ 115 mins )
สัปดาห์ที่ 6: Extracting Insight
เรียนรู้เกี่ยวกับสังเคราะห์ข้อมูล(Synthesis) และวิธีการ
- What is synthesis and how? : การสังเคราะห์ข้อมูลคืออะไร และทำอย่างไรเพื่อให้ได้ Insight เรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการสังเคราะห์ข้อมูล
- Synthesis activity: สังเคราะห์ข้อมูลด้วยตนเอง หรือ ทำร่วมกับโค้ช โดยนำข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากในสัปดาห์ที่ 1-2-3 มาสังเคราะห์ เพื่อให้เห็น ช่องว่าง โอกาส และข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวข้องกับปัญหา ที่จะนำไปสู่การออกแบบแนวทางแก้ไข
- Synthesis review: ทบทวนสิ่งที่ได้จากการสังเคราะห์ข้อมูลและสรุปช่องว่าง โอกาส หรือ Insight ที่ได้จากการสังเคราะห์ข้อมูล
(2 VDO , 1 Readings , 3 Worksheets , 1 Activity ~ 285 mins)